วันพฤหัสบดีที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556


แนวทางการอนุรักษ์และพัฒนาพื้นที่ป่าชายเลน

ในสถานการณ์ปัจจุบัน ป่าชายเลนกำลังอยู่ในภาวะวิกฤต เนื่องจากพื้นที่ป่าจำนวนมากถูกทำลายจน
หมดสภาพ และพื้นที่ที่เหลือได้รับผลกระทบจนเสื่อมสภาพไปเป็นจำนวนไม่น้อย จนเหลือเนื้อที่
ลดน้อยลงทุกปี แม้ว่ารัฐบาล จะได้ให้ความสำคัญโดยการออกมาตรการต่างๆ ให้กรมป่าไม้และ
หน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องรับดำเนินการ เพื่อหยุดยั้งการบุกรุกทำลานป่าและเร่งรัดการปลูกและ
ฟื้นฟูป่าชายเลน แต่ก็เพียงมีผลให้เนื้อที่ป่าชายเลนลดลงแต่ละปีน้อยกว่าเดิมเท่านั้น



แนวทางการจัดการป่าชายเลนแบบยั่งยืน


รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยมีกรมป่าไม้เป็นหน่วยงานหลักได้ดำเนินการ เพื่ออนุรักษ์
และพัฒนาป่าชายเลนมาโดยตลอด และได้ดำเนินการตามนโยบายและมาตรการที่กำหนดขึ้น
ในระดับชาติ ซึ่งบางกรณีเป็นมาตรการรีบด่วนที่ระดมกำลังจากหน่วยงานอื่น ๆ เข้าไป ให้การ
สนับสนุนและร่วมดำเนินการด้วย แต่ผลการดำเนินงานยังไม่ประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย
เนื่องจากมีปัญหาและอุปสรรคข้อขัดข้อง อยู่ตลอดเวลา และหากสถานการณ์ยังคงเป็นอยู่ในลักษณะนี้ 
รัฐอาจไม่สามารถรักษาพื้นที่ป่าชายเลนให้คงไว้อย่างน้อย 1 ล้านไร่ ในปี พ.ศ. 2544ตามเป้าหมายที่
กำหนดไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2540 - 2544) 

นวทางที่จำเป็นสำหรับการดำเนินการ เพื่อรักษาพื้นที่ป่าชายเลนให้คงไว้ได้ตามเป้าหมาย
 และสามารถอำนวยประโยชน์ได้ตามแนวทางการพัฒนาแบบยั่งยืน ดังนี้




     1. เร่งรัดพัฒนา และส่งเสริมความร่วมมือของประชาชนในท้องถิ่น ในด้านการอนุรักษ์และพัฒนาป่าชายเลน ด้วยวิธีการให้ความรู้ ความ เข้าใจ ที่จะก่อให้เกิดจิตสำนึกและเห็นความจำเป็นในการอนุรักษ์ และฟื้นฟูทรัพยากรป่าชายเลน โดยรัฐควรให้สิทธิและความมั่นคงรวมทั้งสิ่งจูงใจ ในประโยชน์ที่ประชาชนเหล่านี้ จะได้รับจากการคุ้มครองป้องกันและฟื้นฟูดูแลรักษาป่าชายเลน รวมทั้งการให้ความช่วยเหลือทางด้านวิชาการ และความช่วยเหลือทางด้านอื่น ๆ ที่จำเป็น ซึ่งจะเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่เสริมสร้างศักยภาพของประชาชน ในการจัดการ บริหารป่าชุมชนชายเลนต่อไป
     2. ปรับปรุงกฎหมาย และระเบียบ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์ที่ดินป่าชายเลนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่มีการบุกรุทำลาย ยึดถือ ครอบครอง และจับจองเพื่อการได้มาซึ่งเอกสิทธิ์ที่ดินป่าชายเลนโดยไม่ถูกต้อง ทั้งนี้เพื่อให้การอนุรักษ์ และการปลูกฟื้นฟูป่าชายเลน สามารถดำเนินการได้ผลอย่างแท้จริง และเป็นการขจัดปัญหาการออกเอกสารสิทธิ์ที่ดินป่าชายเลนให้หมดไป 
3. ดำเนินการสำรวจพื้นที่ป่าชายเลนอย่างละเอียดและใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนการจัดการป่าไม้ และการจัดการที่ดินป่าชายเลนให้เหมาะสมกับศักยภาพ ก่อนที่การอนุญาตทำไม้ในระบบสัมปทานระยะยาวในรอบที่ 2 จะสิ้นสุด เพื่อจะได้ดำเนินการให้พื้นที่ป่าชายเลนเป็นป่าอนุรักษ์ และป่าชุมชนตามความเหมาะสม ภายใต้แผนการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ 

   4. ส่งเสริม และสนับสนุน ให้มีการปลูกและฟื้นฟูป่าชายเลนอย่างต่อเนื่อง ทั้งในที่ดินของรัฐและที่ดินเอกชน โดยให้มีการขยายพันธุ์ไม้ป่าชายเลนที่มีความหลากหลาย ทั้งชนิดที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจและชนิดที่หายากหรือใกล้จะสูญพันธุ์ เพื่อดำรงความอุดมสมบูรณ์ของ ป่าชายเลน และความหลากหลายทางชีวภาพไปด้วย 


  5. ปรับปรุงระบบการอนุรักษ์ และป้องกันรักษาป่าชายเลน ให้มีการร่วมมือและประสานงานระหว่างหน่วยงานที่รับผิดชอบมากยิ่งขึ้น และให้มีการพัฒนาและปรับปรุงบทบาทของเจ้าหน้าที่หน่วยป้องกันรักษาป่าและหน่วยจัดการป่าชายเลน จากการป้องกันปราบปราม และการควบคุมการทำไม้ มาเป็นนักส่งเสริมและพัฒนาป่าชายเลนมากขึ้น 


 6.พัฒนาระบบการบริหารจัดการทรัพยากรป่าชายเลนของกรมป่าไม้ ให้มีโครงสร้างที่เป็นเอกภาพ โดยมีการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบ ที่ชัดเจน มีเจ้าหน้าที่ดำเนินการอย่างเพียงพอ มีความร่วมมือและประสานงานที่ดี 





สายใยอาหารในระบบนิเวศป่าชายเลน










            ระบบนิเวศป่าชายเลนเป็นระบบนิเวศที่มีความซับซ้อน ประกอบด้วยพืชและสัตว์ที่แตกต่างกันหลายชนิด สัตว์และพืชเหล่านี้เป็นส่วนประกอบที่มีบทบาทร่วมกัน และมีความเชื่อมโยงกันในเรื่องของความสัมพันธ์ในลำดับขั้นการกินอาหาร (tropic relationship) โดยส่วนประกอบแต่ละส่วนจะกินส่วนประกอบอื่นเป็นอาหาร หรือถูกกินโดยส่วนประกอบอื่นๆ ในระบบนิเวศ ซึ่งสิ่งมีชีวิตต่างๆ สามารถรวมกลุ่มเข้าด้วยกันโดยใช้ชนิดอาหารเป็นตัวแบ่ง การจำแนกสิ่งมีชีวิตออกตามระดับชั้น คือ
1. ผู้ผลิตขั้นต้น ป่าชายเลนและพืชอื่นๆ เป็นผู้ผลิตขั้นต้นในระบบนิเวศป่าชายเลน สิ่งมีชีวิตกลุ่มนี้จะเปลี่ยนแสงอาทิตย์เป็นพลังงาน พวกนี้จะเป็นสมาชิกชั้นสูงสุดของการกินอาหาร
2. ผู้ย่อยสลาย สิ่งมีชีวิตกลุ่มนี้ ได้แก่ แบคทีเรียและรา มันจะกินของเสีย เช่น พืชและสัตว์ที่ตายแล้ว
3. ผู้บริโภคขั้นต้น ได้แก่ herbivores ซึ่งกินพืชที่เป็นผู้ผลิตขั้นต้นเป็นอาหาร
4. ผู้บริโภคลำดับที่สอง คือ พวก carnivores ที่กินผู้บริโภคขั้นต้นและผู้ย่อยสลายเป็นอาหาร
5. ผู้บริโภคลำดับที่สาม คือ พวก carnivores ที่กินผู้บริโภคลำดับที่สองและผู้ย่อยสลายเป็นอาหาร
ในอดีตที่ผ่านมานั้น นักวิทยาศาสตร์อธิบายความสัมพันธ์ของลำดับชั้นการกินอาหารในระบบนิเวศป่าชายเลนนั้นในรูปของห่วงโซ่อาหาร (food chain) แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของส่วนต่างๆ ในห่วงโซ่อาหาร ดังนี้
1. ต้นไม้ป่าชายเลน (ผู้ผลิตขั้นต้น) เปลี่ยนแสงอาทิตย์ภายในวัสดุพืชมีชีวิต
2. ใบและส่วนประกอบอื่นๆ ของพืชหล่นจากต้นป่าชายเลน เกิดเป็นเศษใบกองอยู่บนพื้นป่าชายเลน
3. ใบพืชถูกชะล้างเข้าสู่ทางน้ำป่าชายเลน แบคทีเรียและราก็ย่อยสลายใบพืชนี้
4. ในทางน้ำ detritivores หรือผู้กินซากพืช ซากสัตว์ (ผู้บริโภคลำดับที่สอง) กินกลุ่มสิ่งมีชีวิตผู้ย่อยสลาย
5. พวกที่กินสัตว์อื่นเป็นอาหาร (ผู้บริโภคลำดับที่สอง) กินผู้ย่อยสลาย พวกที่กินสัตว์อื่นเป็นอาหารซึ่งมีขนาดใหญ่กว่า (ผู้บริโภคลำดับที่สาม) กินพวกที่กินสัตว์อื่นเป็นอาหารที่มีขาดเล็กกว่า
6. ผู้ย่อยสลาย สัตว์กินอินทรีย์สาร และสัตว์ที่กินสัตว์อื่นเป็นอาหารตายและตกอยู่ในพื้นล่างของทางน้ำ ตรงนี้ผู้ย่อยสลายจะทำหน้าที่ของมัน