วันพฤหัสบดีที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556



สายใยอาหารในระบบนิเวศป่าชายเลน










            ระบบนิเวศป่าชายเลนเป็นระบบนิเวศที่มีความซับซ้อน ประกอบด้วยพืชและสัตว์ที่แตกต่างกันหลายชนิด สัตว์และพืชเหล่านี้เป็นส่วนประกอบที่มีบทบาทร่วมกัน และมีความเชื่อมโยงกันในเรื่องของความสัมพันธ์ในลำดับขั้นการกินอาหาร (tropic relationship) โดยส่วนประกอบแต่ละส่วนจะกินส่วนประกอบอื่นเป็นอาหาร หรือถูกกินโดยส่วนประกอบอื่นๆ ในระบบนิเวศ ซึ่งสิ่งมีชีวิตต่างๆ สามารถรวมกลุ่มเข้าด้วยกันโดยใช้ชนิดอาหารเป็นตัวแบ่ง การจำแนกสิ่งมีชีวิตออกตามระดับชั้น คือ
1. ผู้ผลิตขั้นต้น ป่าชายเลนและพืชอื่นๆ เป็นผู้ผลิตขั้นต้นในระบบนิเวศป่าชายเลน สิ่งมีชีวิตกลุ่มนี้จะเปลี่ยนแสงอาทิตย์เป็นพลังงาน พวกนี้จะเป็นสมาชิกชั้นสูงสุดของการกินอาหาร
2. ผู้ย่อยสลาย สิ่งมีชีวิตกลุ่มนี้ ได้แก่ แบคทีเรียและรา มันจะกินของเสีย เช่น พืชและสัตว์ที่ตายแล้ว
3. ผู้บริโภคขั้นต้น ได้แก่ herbivores ซึ่งกินพืชที่เป็นผู้ผลิตขั้นต้นเป็นอาหาร
4. ผู้บริโภคลำดับที่สอง คือ พวก carnivores ที่กินผู้บริโภคขั้นต้นและผู้ย่อยสลายเป็นอาหาร
5. ผู้บริโภคลำดับที่สาม คือ พวก carnivores ที่กินผู้บริโภคลำดับที่สองและผู้ย่อยสลายเป็นอาหาร
ในอดีตที่ผ่านมานั้น นักวิทยาศาสตร์อธิบายความสัมพันธ์ของลำดับชั้นการกินอาหารในระบบนิเวศป่าชายเลนนั้นในรูปของห่วงโซ่อาหาร (food chain) แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของส่วนต่างๆ ในห่วงโซ่อาหาร ดังนี้
1. ต้นไม้ป่าชายเลน (ผู้ผลิตขั้นต้น) เปลี่ยนแสงอาทิตย์ภายในวัสดุพืชมีชีวิต
2. ใบและส่วนประกอบอื่นๆ ของพืชหล่นจากต้นป่าชายเลน เกิดเป็นเศษใบกองอยู่บนพื้นป่าชายเลน
3. ใบพืชถูกชะล้างเข้าสู่ทางน้ำป่าชายเลน แบคทีเรียและราก็ย่อยสลายใบพืชนี้
4. ในทางน้ำ detritivores หรือผู้กินซากพืช ซากสัตว์ (ผู้บริโภคลำดับที่สอง) กินกลุ่มสิ่งมีชีวิตผู้ย่อยสลาย
5. พวกที่กินสัตว์อื่นเป็นอาหาร (ผู้บริโภคลำดับที่สอง) กินผู้ย่อยสลาย พวกที่กินสัตว์อื่นเป็นอาหารซึ่งมีขนาดใหญ่กว่า (ผู้บริโภคลำดับที่สาม) กินพวกที่กินสัตว์อื่นเป็นอาหารที่มีขาดเล็กกว่า
6. ผู้ย่อยสลาย สัตว์กินอินทรีย์สาร และสัตว์ที่กินสัตว์อื่นเป็นอาหารตายและตกอยู่ในพื้นล่างของทางน้ำ ตรงนี้ผู้ย่อยสลายจะทำหน้าที่ของมัน








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น