วันพฤหัสบดีที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556


สารคดี ป่าชายเลน  "ใต้ร่มโกงกาง"

ทีมชนะเลิศจากโครงการสร้างสรรค์ ฉลาดคิด ผลิตข่าวกับพานาโซนิค 2007 โรงเรียนพิมานพิทยาสรรค์ จ.สตูล กับผลงานที่ชื่อว่า "ใต้ร่มโกงกาง"

KWN 2007 Thailand National Winner: Phimanphitthayasan School, Satun Province with a video titled "Under the Shade of Mangrove Forest"








การ์ตูนลดโลกร้อน ตอนปลูกป่าชายเลน





















วันพุธที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556


แนะนำสถานท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ป่าชายเลน



1.ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและอนุรักษ์ป่าชายเลน เพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ จังหวัดชลบุรี
ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและอนุรักษ์ป่าชายเลน เพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ จังหวัดชลบุรี ตั้งอยู่ที่ หมู่ 3 ตำบลเสม็ด อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี เป็นผืนป่าชายเลนที่สมบูรณ์ที่สุดและผืนสุดท้ายของชลบุรี มีเนื้อที่ 300 ไร่ เปิดดำเนินการโดยความร่วมมือของกรมป่าไม้และองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี
สำนักงานป่าไม้จังหวัดได้จัดตั้งศูนย์ฯ ขึ้นเพื่ออนุรักษ์ป่าชายเลน และให้เป็นแหล่งเรียนรู้แก่ประชาชน มีเส้นทางศึกษาธรรมชาติเป็นสะพานไม้ที่ยาว 2,300 เมตร ซึ่งยาวที่สุดในประเทศไทย
ตลอดเส้นทางความยาว 2,300 เมตร บนสะพานทางเดินศึกษาธรรมชาติของศูนย์ฯ  จะได้พบเห็นความหลากหลายทางธรรมชาติของป่าชายเลน ไม่ว่าจะเป็นพันธุ์ไม้ป่าชายเลนและสัตว์น้ำหลากหลายชนิด ระหว่างทางจะมีศาลาชีวภาพใต้น้ำ สะพานแขวน และมีบอร์ดให้ความรู้เกี่ยวกับป่าชายเลนเป็นระยะๆ นักท่องเที่ยวจะได้รับทั้งความรู้และความเพลิดเพลิน
ศูนย์ศึกษาธรรมชาติปาชายเลนแห่งนี้ อุดมไปด้วยพันธุ์ไม้ป่าชายเลนหลากหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น โกงกางใบใหญ่ โกงกางใบเล็ก ตะบูนดำ ตะบูนขาว แสมดำ แสมขาว โปรงแดง โปรงขาว ลำพูน และพืชอีกหลายชนิด นอกจากนี้ ยังเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยและเพาะพันธุ์สัตว์น้ำอีกหลากหลายชนิด ได้แก่ กุ้งกุลาดำ กุ้งแชบ๊วย หอยนางรม หอยแครง ปูก้ามดาบ ปูแสม ปลานวลจันทร์ ปลากะพงขาว ปลาตีน และนกอีกนานาชนิด








2.สถานตากอากาศบางปู
สถานตากอากาศบางปู ตั้งอยู่บนกิโลเมตรที่ 37 ถนนสุขุมวิท ตำบลบางปูใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ มีกรมพลาธิการทหารบก กำกับดูแลและดำเนินกิจการ  สถานพักตากอากาศบางปูเป็นศูนย์รวมสันทนาการสำหรับพักผ่อนหย่อนใจ ภายในพื้นที่ประกอบไปด้วย สถานที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ศูนย์ศึกษาธรรมชาติเฉลิมพระเกียรติ พื้นที่สาธิตและนิทรรศการการบรรเทาผลกระทบจากวิกฤติโลกร้อน บริเวณอนุสรณ์ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นยกพลขึ้นบก สะพานสุขตา ร้านอาหารศาลาสุขใจ บ้านพักบังกะโล และอาคารที่พัก







3.ป่าชายเลนคลองโคน
การเที่ยวป่าชายเลนเป็นการเที่ยวเชิงอนุรักษ์ แวดล้อมด้วยบรรยากาศธรรมชาติ ที่ป่าชายเลนคลองโคลน อ.เมือง จ.สมุทรสงคราม นักท่องเที่ยวจะได้ชมป่าชายเลน ให้อาหารลิงแสม ชมวิถีชีวิตการทำประมงพื้นบ้าน การเลี้ยงหอยแครง หอยแมงภู่ หอยนางรม  ฯลฯ  สามารถไปเช้าเย็นกลับ หรือจะพักค้างคืนบนโฮมกระเตงเพื่อใกล้ชิดกับธรรมชาติก็ได้












พื้นที่คุมครองทางทะเล
พื้นที่ป่าชายเลน




          ประเทศไทยมีขอบเขตพื้นที่ป่าชายเลนตามกฎหมาย ไม่นับพื้นที่ในทะเลและพื้นที่แม่น้ำ
ลำคลอง พื้นที่ทั้งหมดประมาณ 2,371,254 ไร่ โดยแบ่งรูปแบบการใช้ประโยชน์จากที่ดินในพื้น
ที่ป่าชาย
เลนได้ทั้งหมด 12 แบบ ได้แก่ พื้นที่ป่าชายเลน ป่าชายหาด ป่าพรุ ป่าดิบแล้ง เลนงอก พื้นที่เกษตร
 นากุ้ง
 นาเกลือ พื้นที่ทิ้งร้าง เหมืองแร่ ท่าเทียบเรือ และพื้นที่เมือง
          รายละเอียดเกี่ยวกับ ป่าชายเลน เบื้องต้น
          พื้นที่ป่าชายเลนในประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงลดลงอย่างมาก ในปี 2504 มีพื้นที่ป่า
ชายเลน 2,327,228 ไร่ และในปี 2547 มีพื้นที่ป่าชายเลนเหลือเพียง 1,579,696 ไร่ ลดลง 747,532
 ไร่ 
หรือร้อยละ 32 จากในปี 2504
         
          พื้นที่ป่าชายเลนเหล่านี้อยู่ภายใต้การคุ้มครองของกฎหมายหลายฉบับ โดยมีกฎหมายที่
สำคัญดังนี้

         มาตรา 54 ห้ามมิให้ผู้ใด ก่อสร้างแผ้วถาง หรือเผาป่า หรือกระทำการด้วยประการใดๆอันเป็นการ
ทำลายป่า หรือเข้ายึดหรือครอบครองป่าเพื่อตนเองหรือผู้อื่น เว้นแต่จะกระทำภายในเขตที่ได้จำแนก
ไว้เป็นประเภทเกษตรกรรม และรัฐมนตรีได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาหรือได้รับใบอนุญาตจาก
พนัก
งานเจ้า หน้าที่
         การขออนุญาตและการอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง

          ป่าชายเลนที่ได้รับการกำหนดเป็นป่าสงวนแห่งชาติจะได้รับความคุ้มครองและการ
เข้าใช้ประโยชน์ของประชาชนจากพระราชบัญญัติฉบับนี้ โดยห้ามดำเนินกิจกรรมต่างๆที่อาจจะเป็
การ
เสื่อมเสียสภาพของป่าสงวนแห่งชาติ เช่น การเข้าอยู่อาศัย การก่อสร้าง การแผ้วถาง การเผาป่า 
การทำไม้ การเก็บหาของป่า เป็นต้น
         มาตรา 6  บรรดาป่าที่เป็นป่าสงวนอยู่แล้วตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองและสงวนป่าก่อน 
วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้เป็นป่าสงวนแห่งชาติตามพระราชบัญญัตินี้
         เมื่อรัฐมนตรีเห็นสมควรกำหนดป่าอื่นใดเป็นป่าสงวนแห่งชาติ เพื่อรักษาสภาพป่า ไม้ 
ของป่าหรือทรัพยากรธรรมชาติอื่น ให้กระทำได้โดยออกกฎกระทรวงซึ่งต้องมีแผนที่แสดงแนวเขต
ป่า
ที่กำหนดเป็น
ป่า สงวนแห่งชาตินั้นแนบท้ายกฎกระทรวงด้วย

         มาตรา 14 ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ห้ามมิให้บุคคลใดยึดถือครอบครองทำประโยชน์หรืออยู่
อา
ศัยในที่ดิน ก่อสร้าง แผ้วถาง เผาป่า ทำไม้ เก็บหาของป่า หรือกระทำด้วยประการใด ๆ อันเป็นการ
เสื่อม
เสียแก่สภาพป่าสงวนแห่งชาติ เว้นแต่
               (1) ทำไม้หรือเก็บหาของป่าตามมาตรา 15 เข้าทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยตามมาตรา 16
 มาตรา 16 ทวิ หรือมาตรา 16 ตรี กระทำการตามมาตรา 17 ใช้ประโยชน์ตามมาตรา 18 หรือ
กระทำการตามมาตรา 19 หรือมาตรา 20
               (2) ทำไม้หวงห้ามหรือเก็บหาของป่าหวงห้ามตามกฎหมายว่าด้วยป่าไม้

          มาตรา 16  การทำไม้หรือการเก็บหาของป่าในเขตป่าสงวนแห่งชาติให้กระทำได้เมื่อ
ได้รับใบ อนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ประกาศอนุญาตไว้เป็น
คราว ๆ 
ในเขตป่าสงวนแห่งชาติแห่งหนึ่งแห่งใดโดยเฉพาะ
          การอนุญาตให้เป็นไปตามแบบ ระเบียบและวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง

           ป่าชายเลนทั้งหมดที่อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติ จะถูกคุ้มครองโดยพระราชบัญญัติ
อุทยานแห่งชาติฉบับนี้ การกระทำใดๆที่ส่งผลกระทบต่อสัตว์และทรัพยากรธรรมชาติในเขตอุท
ยานแห่งชาติ
ถือเป็นความผิดตามมาตราที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัตินี้

            พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติคุ้มครองพื้นที่ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า และคุ้มครองชนิด
พันธุ์สัตว์ตามบัญชีรายชื่อสัตว์ป่าคุ้มครองท้ายพระราชบัญญัติ ป่าชายเลนจึงได้รับการคุ้มครอง
เพราะเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าในรายชื่อสัตว์ป่าคุ้มครอง นอกจากความคุ้มครองจาก
"เขตห้ามล่า
สัตว์ป่า"แล้วยังได้รับการคุ้มครองโดยจัดตั้งพื้นที่"เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า" ซึ่งมีมาตราที่เกี่ยวข้องได้
แก่
            มาตรา 36  ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ห้ามมิให้ผู้ใดล่าสัตว์ป่า ไม่ว่าจะเป็นสัตว์ป่าสงวนหรือ
สัตว์ป่าคุ้มครองหรือมิใช่ หรือเก็บหรือทำอันตรายแก่รังของสัตว์ป่า เว้นแต่จะกระทำเพื่อการศึกษา
หรือวิจัยทางวิชาการและได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากอธิบดีโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ

            มาตรา 38  ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ห้ามมิให้ผู้ใดยึดถือหรือครอบครองที่ดินหรือปลูก หรือ
ก่อสร้างสิ่งหนึ่งสิ่งใด หรือตัด โค่น แผ้วถาง เผา หรือทำลายต้นไม้หรือพฤกษชาติอื่น หรือขุดหาแร่ 
ดิน หิน หรือเลี้ยงสัตว์ หรือปล่อยสัตว์หรือสัตว์ป่า หรือเปลี่ยนแปลงทางน้ำ หรือทำให้น้ำในลำน้ำ
 ลำห้วย หนอง บึง ท่วมท้น เหือดแห้ง เป็นพิษ หรือเป็นอันตรายต่อสัตว์ป่า
            ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องปฏิบัติการเพื่อประโยชน์ในการคุ้มครอง ดูแล รักษาหรือบำรุง
เขต
รักษาพันธุ์สัตว์ป่า เพื่อการเพาะพันธุ์ การศึกษาหรือวิจัยทางวิชาการ เพื่ออำนวยความสะดวกใน
การ
ให้การศึกษาหรือการพักอาศัย หรืออำนวยความปลอดภัย หรือให้ความรู้แก่ประชาชน ให้อธิบดีมี
อำนาจสั่งเป็นหนังสือให้พนักงานเจ้าหน้าที่หรือเจ้าหน้าที่ของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า 
และพันธุ์
พืช 
หรือกรมประมง แล้วแต่กรณี กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าได้ ทั้งนี้ ตาม
 ระเบียบที่อธิบดีกำหนด โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ

ปัจจัยสำคัญที่ทำให้พันธุ์ไม้ป่าชายเลนขึ้นอยู่เป็นเขตหรือเป็นโซน
 



             1. ปัจจัยทางกายภาพและเคมีของดิน โกงกางใบใหญ่ชอบดินที่มีสภาพเป็นโคลนนิ่ม ๆ โกงกางใบเล็กชอบดินเลนที่ไม่นิ่มเกินไป ไม้แสมชอบบริเวณชายหาดที่มีความลาดชันต่ำ สามารถทนต่อสภาพดินทรายได้เมื่อบริเวณนั้นมีน้ำทะเลท่วมถึง ไม้ถั่วขาวจะขึ้นในบริเวณดินเหนียวที่มีลักษณะค่อนข้างแข็ง มีชั้นของฮิวมัสและมีการระบายน้ำที่ดี ต้นจากจะเป็นส่วนประกอบที่สำคัญตามบริเวณป่าชายเลนที่มีสภาพอิ่มตัวด้วยน้ำ พวกปรงทะเลจะมีกระจายมากในบริเวณดินแฉะและน้ำกร่อย 



             2. ความเค็มของน้ำในดิน โกงกางใบใหญ่ ลำพู ลำแพน เป็นพวกซึ่งต้องการความเค็มสูงจึงมักพบขึ้นอยู่บริเวณติดกับทะเล สำหรับไม้แสมทะเลจะมีความทนทานต่อความเค็มในช่วงกว้างโดยเจริญเติบโตได้ดี ตั้งแต่บริเวณ ที่มีความเค็มต่ำจนถึงสูง ความเค็มไม่ใช่เป็นสิ่งสำคัญต่อการเจริญเติบโต แต่มีอิทธิพลต่อการลด การแก่งแย่งของพันธุ์ไม้ต่างชนิดกัน ในประเทศไทย พบว่า เขตการขึ้นอยู่ของพันธุ์ไม้จะแตกต่างกันออกไปในแต่ละพื้นที่ เช่น ในจังหวัดจันทบุรีเขตนอกสุดที่ติดริมฝั่งทะเล จะมีไม้โกงกางทั้งใบใหญ่และโกงกางใบเล็ก ถัดเข้าไปเป็นเขตของไม้แสมและไม้ถั่ว ถัดจากกลุ่มพวกนี้จะเป็นไม้ตะบูน และตามด้วยกลุ่มไม้โปรงและฝาด เขตสุดท้ายเป็นแนวต่อระหว่างป่าชายเลนกับป่าบก จะมีกลุ่มไม้เสม็ดขึ้นอยู่ สำหรับจังหวัดพังงา จากริมน้ำเป็นกลุ่มไม้ลำพู แสม และกลุ่มไม้โกงกางใบใหญ่ ตามด้วยกลุ่มโกงกางใบเล็ก-ถั่ว ถัดจากกลุ่มนี้เป็นกลุ่มไม้โปร่ง และกลุ่มไม้โปรง-ตะบูน สำหรับเขตสุดท้ายจะเป็นกลุ่มไม้ตาตุ่ม-เป้ง 




การแบ่งเขตป่าชายเลน (Mangrove Zonation) ตามชนิดของไม้นำ


          เขตต่างๆของพันธุ์ไม้ชายเลนในแต่ละแห่งที่พบในประเทศไทยมีความแตกต่างกันบ้าง โดยทั่วไปสามารถแบ่งได้เป็น 4 เขตดังนี้ 


   
       1. เขตป่าโกงกาง


       

                  ประกอบด้วย "โกงกางใบเล็ก" (Rhizophora apiculata) ขึ้นอยู่อย่างหนาแน่นและมีต้น "โกงกางใบใหญ่" (R. mucronata) ขึ้นอยู่ทางด้านนอกริมฝั่งแม่น้ำ โดยมากมักขึ้นเป็นกลุ่มๆ ส่วน แสม มักขึ้นแซมตามชายป่าด้านนอกหรือถัดเข้าไปเพียงเล็กน้อย ซึ่งมองเห็นได้ชัดเพราะมีต้นสูงใหญ่กว่าโกงกางนอกจากนี้ยังมี ประสัก และ พังกาหัวสุม ขึ้นแทรกอยู่ทางด้านในของเขตนี้ ซึ่งอยู่ในระยะประมาณ 50-100 เมตร จากชายฝั่งและในบางแห่งพบต้น "จาก" (Nypa) ขึ้นอยู่เป็นหย่อม ๆ ปะปนด้วย โดยเฉพาะในบริเวณแหล่งน้ำกร่อย 

          2. เขตป่าตะบูนและโปรง 

        

                  ประกอบด้วย "ตะบูน" (Xylocarpus) ขึ้นต่อจากเขตต้นโปรงเข้าไป และมีต้นฝาดขึ้นอยู่อย่างหนาแน่น บางบริเวณอาจมี ลำแพน แทรกอยู่ด้วย 
          3. เขตป่าตาตุ่ม และฝาด 

           

                   เป็นบริเวณที่มีดินเลนแข็งขึ้นอยู่ในระดับที่น้ำจะท่วมถึงในช่วงน้ำเกิด อยู่ถัดจากป่าตะบูนและโปรงขึ้นไป โดยมีต้น ฝาด ขึ้นอยู่หนาแน่นปะปนกับต้น ตาตุ่ม โดยบางแห่งจะมีต้น ลำแพน ขึ้นแทรกอยู่ด้วย 

          4. เขตป่าเสม็ด 

          

                   ประกอบด้วย "เสม็ด" ขึ้นอยู่หนาแน่น เป็นเขตสุดท้ายของป่าชายเลนที่น้ำท่วมถึงในช่วงน้ำเกิดหรือท่วมไม่ถึง ติดต่อกับป่าบกหรือทุ่งนา

วันอังคารที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556



การปลูกป่าชายเลน



1. การปลูกป่าชายเลนโดยใช้เงินงบประมาณแผ่นดิน 

                กรมป่าไม้ได้ดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2482 ในท้องที่จังหวัดจันทบุรีในบริเวณพื้นที่ป่าที่เสื่อมโทรม โดยดำเนินการปลูกไม้โกงกางเพื่อเป็นการทดลองปลูกในเนื้อที่เพียงเล็กน้อย และไม่ได้มีโครงการที่จะปลูกเพิ่มขึ้นในท้องที่จังหวัดอื่นด้วย แต่ก็ดำเนินการเพียงพื้นที่เล็กน้อย และเริ่มปลูกเพิ่มมากขึ้นในระยะหลังแต่พื้นที่ก็ยังไม่มาก ไม้ที่ปลูกส่วนใหญ่เป็นไม้โกงกาง มีไม้โปรง ไม้ถั่วบ้าง แต่ก็เป็นส่วนน้อย การปลูกป่าชายเลน ที่ผ่านมาเพียงปลูกเพื่อฟื้นฟูสภาพป่าในบริเวณป่าที่เสื่อมโทรมยังไม่มีแผน การจัดการที่จะนำไม้ออกมาใช้ประโยชน์ เนื้อที่สวนป่าชายเลนที่ได้ดำเนินการปลูกโดยใช้เงินงบประมาณแผ่นดิน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2482 ถึงปี พ.ศ. 2534 มีการดำเนินการในท้องที่จังหวัดจันทบุรี นครศรีธรรมราช ตรัง สตูล ปัตตานี กระบี่ ชุมพร ได้เนื้อที่รวมกันประมาณ 56,660 ไร่ 

2. การปลูกป่าชายเลนตามเงื่อนไขสัมปทานทำไม้ป่าชายเลน 


                การทำไม้ตามสัมปทานได้เริ่มออกสัมปทานทำให้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2511 โดยให้สัมปทานระยะยาว 15 ปี ขณะนี้ป่าโครงการที่ให้สัมปทานอยู่ในรอบที่สอง (สัมปทานฉบับใหม่) จำนวน 248 ป่า เนื้อที่ประมาณ 899,755.07 ไร่ ซึ่งเมื่อทำไม้ออกตามสัมปทานแล้วแต่ละปีผู้รับสัมปทานจะต้องทำการปลูกบำรุง ป่า ทดแทน ตามเงื่อนไขสัมปทานทำไม้รอบแรกกำหนดให้ผู้รับสัมปทานปลูกป่าทดแทนเพียง 1 เท่าค่าภาคหลวง เท่านั้น จึงทำให้ปลูกป่าทดแทนได้ไม่เต็มพื้นที่ที่มีการทำไม้ออก ฉะนั้นตามสัมปทานทำไม้ฉบับใหม่ที่ทำไม้ออก ตามสัมปทานในรอบที่สอง ได้มีการปรับปรุงเงื่อนไขสัมปทานให้เหมาะสมยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการปลูกบำรุงได้กำหนดให้ผู้รับสัมปทานดำเนินการปลูกป่าชายเลนทดแทน ให้เต็มพื้นที่ในแนวตัดฟันไม้ที่ทำไม้ออกทั้งหมด แล้วยังต้องดำเนินการปลูกป่าเขตสัมปทานตามวิธีการที่กรมป่าไม้กำหนดอีกภายใน วงเงิน 3 เท่าค่าภาคหลวง พร้อมทั้งขุดแพรกเพื่อช่วยเหลือการเจริญเติบโตของพันธุ์ไม้ป่าชายเลนที่ปลูก อีกด้วย ดังนั้นพื้นที่ป่าชายเลน ที่ให้สัมปทานทำไม้แล้ว รัฐจึงไม่ต้องทำการปลูกป่าชายเลนเอง เพียงแต่ให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ตรวจสอบ ควบคุมให้ผู้รับสัมปทาน ทำการปลูกป่าชายเลนให้เป็นไปตามเงื่อนไขสัมปทานโดยเคร่งครัด 

3. การปลูกป่าชายเลนโดยภาคเอกชน 

                การปลูกสร้างสวนป่าชายเลนหรือสวนป่าไม้โกงกางโดยเอกชน อยู่ในบริเวณชายฝั่งทะเลก้นอ่าวไทยในท้องที่จังหวัดเพชรบุรี สมุทรสงคราม สมุทรปราการ จนถึงชลบุรี ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการปลูกสร้างสวนป่าไม้โกงกางเป็นอาชีพในครัวเรือน ในที่ดินกรรมสิทธิ์ซึ่งเป็นมรดกตกทอดต่อ ๆ กันมา จากการสอบถามประวัติความเป็นมาของราษฎรบางรายในท้องที่บ้านตะบูน อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรีและที่บ้านยี่สาร อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ซึ่งได้เริ่มปลูกป่าไม้โกงกางใบเล็กเพื่อเผาถ่านและทำไม้ฟืนมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2480 และมีราษฎร รายอื่น ๆ ทำตามติดต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน โดยจำนวนเนื้อที่ที่แท้จริงของสวนป่าไม้โกงกางที่ราษฎรได้ปลูกขึ้นที่บ้าน ยี่สาร อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม มีเนื้อที่ประมาณ 16,000 ไร่ โดยดำเนินการอยู่หลายเจ้าของ และใช้ประโยชน์ไม้จากสวนป่าที่ปลูก ในการเผาถ่านเป็นส่วนใหญ่ เมื่อสวนป่ามีอายุ 8 - 12 ปี แต่ขณะนี้ได้มีการเปลี่ยนแปลงพื้นที่สวนป่าดังกล่าวทำเป็นนากุ้งไปเป็นจำนวน มากแล้ว 

4. การปลูกป่าชายเลนตามโครงการปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติ 

                รัฐบาลได้มอบหมายให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นหน่วยงานหลักร่วมกับภาคเอกชนจัดทำโครงการปลูกป่า ถาวรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสทรงครองราชปีที่ 50 นั้น กรมป่าไม้ในฐานะที่ หน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการปลูกป่าได้รับมอบหมายให้จัดทำพื้นที่ เป้าหมายขึ้นเพื่อใช้เป็นพื้นที่ปลูกป่า โดยในส่วนที่เป็นพื้นที่ป่าชายเลนนั้น กรมป่าไม้ได้จัดทำพื้นที่เป้าหมายไว้ 31,724 ไร่ จำนวน 57 แห่ง อยู่ในพื้นที่จังหวัดต่าง ๆ จำนวน 12 จังหวัด