วันพฤหัสบดีที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2556


สัตว์ในป่าชายเลน


      สัตว์ในป่าชายเลน สัตว์ที่อาศัยอยู่ในป่าชายเลนนอกจาก สัตว์น้ำ เช่น กุ้ง หอย ปู ปลา และสัตว์ชนิดอื่นๆ เช่น นก สัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์เลื้อยคลาน และแมลงแล้ว ในป่าชายเลนยังพบตัวแทนของสัตว์เกือบทุกตระกูล ตั้งแต่สัตว์ที่มีขนาดเล็ก เช่น โปรโตซัว หนอนตัวกลม หนอนตัวแบน และพวกไส้เดือนทะเลสัตว์พวกนี้จะมีหลายชนิด และดำรงชีวิตหลายแบบ กล่าวคือ บางชนิดสามารถเคลื่อนที่ได้และจับสัตว์อื่นเป็นอาหาร บางชนิดสามารถฝังตัวอยู่กับที่และกรองอาหารจากน้ำและบางชนิดก็ฝังตัวอยู่กับที่มีหนวดหรือรยางค์ออกกวาดอินทรีย์สารเป็นอาหาร 


                                  



      ปลาที่พบในป่าชายเลน ปลาชนิดต่างๆ ที่อาศัยอยู่ในป่าชายเลนมีหลายชนิดปลาที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจและพบมาก ได้แก่ ปลานวลจันทร์ทะเล และปลากะพงขาว ชนิดและความชุกชุมปลาจะแตกต่างตามฤดูกาลวางไข่ และกระแสน้ำและระดับความเข้มข้นของน้ำทะเล อุณหภูมิชนิดและจำนวนของสัตว์กินปลา ปลาในป่าชายเลนสามารถแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ใหญ่ๆคือ ปลาที่อาศัยอยู่เป็นประจำ ปลาที่อาศัยอยู่ชั่วคราวปลาที่มากับกระแสน้ำ และปลาที่พบในบางฤดูกาล 


                                 


      กุ้งที่พบในป่าชายเลน กุ้งในป่าชายเลนหรือกุ้งที่อาศัยอยู่ในน้ำกร่อยมี 15 ชนิด กุ้งที่สาคัญและมีค่าทางเศรษฐกิจสูง คือ กุ้งกุลาดำ และกุ้งแชบ๊วย นอกจากนี้ยังมีกุ้งบางชนิดที่ว่ายน้ำจากบริเวณน้ำจืดไปวางไข่บริเวณน้ำกร่อยอีก และที่สำคัญ ได้แก่ กุ้งก้ามกราม และกุ้งน้ำจืด เป็นต้น 



                                     


      หอยที่พบในป่าชายเลน พวกหอยที่สำคัญได้แก่ หอยสองฝา เช่นหอยนางรม หอยแครง และหอยจอบ ซึ่งอาจจะฝั่งตัวในดินหรือเกาะตามต้นราก กิ่งและใบของไม้ป่าชายเลน นอกจากนี้ยังมีหอยเจาะซึ่งพบมากตามซากต้นไม้ที่หักพังด้วยหอบฝาเดียว ได้แก่หอยขี้นก 




                               


      ปูที่พบบริเวณป่าชายเลน ปูที่พบในป่าชายเลนมีอยู่ประมาณ 30 ชนิด ที่รู้จักกันดี คือปูแสมปละปูก้ามดาบ ซึ่งปูทั้ง 2 ชนิด นี้มีสีสันต่างๆสวยงามสำหรับปูที่นิยมรับประทาน เป็นอาหารและมีคุณค่าทางเศรษฐกิจ คือ ปูทะเล 

              
                                


      นกที่พบบริเวณป่าชายเลน มีทั้งนกประจำถิ่นและนกอพยพโดยนกประจำถิ่นอาศัยกินและสร้างรังในป่าชายเลน เช่น นกยางเปีย นกกาน้ำเล็ก เหยี่ยวแดง และนกอพยะที่ใช้เส้นทางบินเดิมประจำทุกปี คือ "กลุ่มนกชายเลนและนกทะเล" ที่อพยพมาตามไกหล่ทวีปมักพักนอนและหาอาหารเพื่อสะสมพลังงานในป่าชายเลน เนื่องจากมีความเหมาะสมทั้งเรื่องอาหารที่มีสัตว์น้ำมากมาย ที่หลบภัยเช่น ลมฝน สัตว์ผู้ล่า นกในกลุ่มนี้เช่น นก??ใหญ่ ยกชายเลนปากช้อน นกนางนวลธรรมดา 


      สัตว์ชนิดอื่นที่พบในป่าชายเลน ในบริเวณป่าชายเลน นากจากสัตว์น้ำชนิดต่างๆแล้วยังพบสัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น ค้างคาว ลิงลม ลิงแสม หนูบ้าน นาก เสือปลา แมวป่า หมูป่า และเก้ง สัตว์เหล่านี้จะเข้ามาในบริเวณป่าชายเลนเป็นบางเวลาเพื่อหาอาหาร นากจากนี้ยังมีนกหลายชนิด งูชนิดต่างๆ ตะกวด เต่า และจระเข้
                                           
   ราที่พบในป่าชายเลน (Mangrove fungi)


    จากหลักฐานคาดว่ารามีวิวัฒนาการมาจากสาหร่ายที่สังเคราะห์แสงได้ โดยราแต่ละกลุ่มจะวิวัฒนาการมาจาก algae ที่แตกต่างกัน ราที่ปัจจุบันพบบนบกจัดว่ามีวิวัฒนาการสูงกว่าราชั้นต่ำที่อยู่ในน้ำ แต่เมื่อเวลาผ่านไปราบางกลุ่มก็ค่อยๆ ปรับตัวและวิวัฒนาการลงสู่ทะเลอีก กลายเป็นราน้ำเค็มและราที่ทนเค็ม ราที่พบในป่าชายเลนเรียกว่า Manglicolous fungi นอกจากจะพบว่ามีสภาพเป็นราชั้นสูงที่สามารถสร้างดอกเห็ดได้ทั่วไปในกลุ่ม Basidiomycotina และอีกกว่าร้อยละ 80 อยู่ในรากลุ่ม Ascomycotina ที่เหลือคือราน้ำและราชั้นต่ำอีกมากมาย และรากลุ่มที่สร้างเซลสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศเท่านั้น (Deuteromycotina) ราที่ทนความเค็มหรือราน้ำเค็ม จึงไม่มีความจำเพาะกับกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเป็นพิเศษ ในระบบนิเวศป่าชายเลนมักพบราได้ทั่วไปบนวัสดุต่าง ๆ เช่น ซากกิ่งไม้ ใบไม้ รากไม้ที่ถูกน้ำเค็มท่วมถึง รวมถึงในดินตะกอนและในน้ำกร่อย ราจึงทำหน้าที่เป็นผู้ย่อยสลายที่สำคัญในส่วนของทะเลและชายฝั่ง 

    ราชั้นสูงที่พบในป่าชายเลนทั่วโลกมีอยู่ประมาณ 200 ชนิด และอีกจำนวนมากกำลังรอการค้นพบ โดยรามักอยู่ในกลุ่มของ Sub-division Basidiomycotina ที่สร้างดอกเห็ดที่พบได้ทั่วไปในป่าชายเลน นอกจากนี้ในน้ำยังมีราน้ำเค็มที่แท้จริง ที่ส่วนใหญ่มีสปอร์รูปร่างแปลกตาสวยงามมีระยางค์หรือเมือกหุ้มรอบตัว เพื่อช่วยในการยึดเกาะกับพื้นผิวของวัสดุธรรมชาติในแหล่งน้ำเค็ม และช่วยให้การแพร่พันธุ์เป็นประสบความสำเร็จมากยิ่งขึ้น จึงไม่เป็นการแปลกบางครั้งพบราน้ำเค็มหรือราทนเค็มในน้ำที่ไหลผ่านเข้าออกจากป่าชายเลน หรือพบเจริญอยู่กับต้นไม้ในป่าชายเลน ราบางกลุ่มมีความเฉพาะกับพืชอาศัย เช่น Halocyphina villosa พบได้บ่อยครั้งบนเปลือกต้นแสม แต่แทบจะไม่พบกับต้นถั่วขาวและโกงกางใบเล็ก ส่วน Coronopapilla mangrovei เป็นชนิดที่พบอาศัยอยู่กับต้นตะบูน ราบางชนิดอาจทำให้เกิดความเสียหายโดยเป็นสาเหตุของโรคไส้เน่า ที่เห็นกันทั่วไปคือไม้ตะบูนขาวที่เกิดโพรงในลำต้น มักมีสาเหตุมาจากเห็ดหิ้งชนิด Phellinus sp. ซึ่งแทบจะไม่พบว่าขึ้นเป็นปรสิตกับพันธุ์ไม้ป่าชายเลนชนิดอื่นเลย 

    อย่างไรก็ตามในประเทศไทย การศึกษาราที่ทนเค็ม ราน้ำเค็ม และราในป่าชายเลนยังมีอยู่น้อยมาก ในภูมิภาคนี้ประเทศอินเดียมีการศึกษาราในกลุ่มนี้มากที่สุด รวมถึงการศึกษาด้านการมีความสัมพันธ์กับไม้ในป่าชายเลนแบบ symbiosis ด้วย นอกจากนี้ยังมีการศึกษาในฮ่องกง สิงคโปร์และมาเลเซีย จนกระทั่งในช่วง 3 - 4 ปีที่ผ่านมา ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ จึงมีการศึกษาราน้ำเค็มกันมากขึ้น และมีรายงานพบราน้ำเค็มในประเทศไทยกว่า 160 ชนิด โดยมีสายพันธุ์ราน้ำเค็มบริสุทธิ์ที่เก็บรักษาไว้ที่ห้องปฏิบัติการเก็บรักษาสายพันธุ์จุลินทรีย์ (BIOTEC) แล้ว ประมาณ 1,400 สายพันธุ์ ส่วนราทนเค็มและราในป่าชายเลนชนิดอื่น ๆ ยังไม่มีรายงานการศึกษามากนัก โดยเฉพาะราในกลุ่มของเห็ดหิ้งที่พบได้ทั่วไปในป่าชายเลน กลับแทบจะไม่เคยมีการเก็บตัวอย่างเลย การศึกษาราในป่าชายเลนของประเทศไทยพบเพียงการศึกษาของอนิวรรต และ ธีรวัฒน์ (2533) ที่ทำการศึกษาราที่พบในส่วนของเนื้อไม้ป่าชายเลนบางชนิด ที่จังหวัดระนอง พบราน้ำเค็มและราทนเค็ม 59 ชนิด ซึ่งอยู่ในกลุ่มของ Sub-division Ascomycotina ถึง 50 ชนิด และให้ข้อสังเกตว่าควรทำการศึกษาให้มีความหลากหลายของสถานที่เก็บตัวอย่างให้มากขึ้น 

การจำแนกกลุ่มของรา  สามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ ดังนี้ 

1. Division Myxomycota เรียกกันทั่วไปว่าราเมือก (slime mold) พบอาศัยตามที่เย็น มีร่มเงาและมีความชื้นสูง จึงมักพบตามขอนไม้ที่ผุพัง กองใบไม้เน่าหรือซากอินทรียวัตถุที่มีความชื้นแฉะ 

2. Division Eumycota จัดว่าเป็น true fungi อาหารได้รับจากการดูดซึมผ่านผนังเซล (absorption) ถ้ามีขนาดใหญ่มองเห็นชัดด้วยตาเปล่ามักจะเรียกว่า “เห็ด” ประโยชน์ช่วยเพิ่มพื้นที่ผิวในการดูดซึมธาตุอาหารและป้องกันโรคที่เกิดกับระบบราก มีความสัมพันธ์กับพืชแบบได้ประโยชน์ร่วมกัน มักพบในพืชป่าบกในเขตร้อนและเขตอบอุ่น ในป่าชายเลน และพันธุ์ไม้อิงอาศัย การจำแนกรากลุ่มนี้จะพิจารณาจากวิธีการและการสร้างเซลสืบพันธุ์ แบ่งได้ 5 ชั้นย่อย คือ 

2.1 Sub-division Mastigomycotina รากลุ่มนี้มีประมาณ 190 สายพันธุ์ (genera) สร้างเซลสืบพันธุ์แบบซูโอสปอร์ (Zoospore) ส่วนใหญ่เป็นราที่อาศัยอยู่ในน้ำ ทั้งน้ำจืดและน้ำเค็ม มีบ้างที่อยู่ในดิน ปกติราในกลุ่มนี้ไม่ค่อยมีความสำคัญมากนัก ยกเว้นแต่บางชนิดที่เป็นสาเหตุของโรคพืช เช่น ทำให้เกิดโรคเน่าคอดินและใบไหม้ และบางชนิดทำให้เกิดโรคกับสัตว์ที่หายใจผ่านผิวหนัง เช่น กบ 

2.2 Sub-division Zygomycotina รากลุ่มนี้สร้างเซลสืบพันธุ์แบบไซโกสปอร์ (Zygospore) มีบทบาทมากในวงการอุตสาหกรรม เช่น Rhizopus oryzae ใช้ผลิตอัลกอฮอล์ R. nodosus ใช้ผลิตกรดแลกติก Mucor sp.ใช้ผลิตกรดซิตริกและกรดออกซาลิก และ Entomophthora ประมาณ 80 ชนิดพันธุ์ เป็นปรสิตของแมลง และใช้ในการควบคุมแมลงศัตรูพืชแบบชีววิธี (bio-control) โดยส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในดิน ทำหน้าที่เป็นผู้ย่อยสลาย พบในดินที่มีอินทรียวัตถุสูงและในมูลสัตว์ ปกติดำรงชีวิตเป็นอิสระ และเจริญเติบโตได้รวดเร็วมาก พบได้ทั่วไปในชีวิต ประจำวัน เช่น ราสีเขียวที่ขึ้นบนขนมปัง 





2.3 Sub-division Ascomycotina รากลุ่มนี้สร้างเซลสืบพันธุ์แบบแอสโคสปอร์ (Ascospore) มีจำนวนสมาชิกมากที่สุดประมาณ 30,000 ชนิดพันธุ์ พบได้ทั่วไปในดิน ในน้ำจืดรวมทั้งในน้ำเค็ม ส่วนใหญ่ดำรงชีวิตเป็นอิสระ มีบทบาทเป็นผู้ย่อยสลาย ส่วนน้อยที่พบดำรงชีวิตเป็นปรสิต บางทีเรียกราในกลุ่มนี้ว่า ราถุง (sac fungi) พบเป็นผู้ย่อยสลายในที่ชื้นแฉะในป่าดิบและป่าชายเลน ตามไม้ผุที่ชุ่มชื้น บางชนิดสร้างดอกเห็ดอยู่ใต้ดิน ที่เรียกกันว่า Truffles มีรสชาติดีและมีราคาแพงมาก 

2.4 Sub-division Basidiomycotina รากลุ่มนี้สร้างเซลสืบพันธุ์แบบเบสิดิโอสปอร์ (Basidiospore) มีวิวัฒนาการสูงที่สุดพบมากกว่า 900 สายพันธุ์ 12,000 ชนิดพันธุ์ ลักษณะที่สำคัญคือมีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ โดยการสร้างสปอร์ ส่วนใหญ่พบดำรงชีวิตเป็นอิสระและเป็นผู้ย่อยสลายที่สำคัญของระบบนิเวศ รากลุ่มนี้พบว่ามีความสามารถในการทำลายไม้ (wood destroying fungi) ทำให้เกิดการผุพัง เช่น ไม้ที่ล้มตามธรรมชาติในป่า และไม้ที่นำมาใช้ในการก่อสร้างทางเดินศึกษาธรรมชาติในป่าชายเลน เป็นต้น 











ภาพ Pycnoporus sanguineus ขึ้นบนพื้นไม้ทางเดินศึกษาธรรมชาติป่าชายเลน

2.5 Sub-division Deuteromycotina รากลุ่มนี้สร้างเซลสืบพันธุ์แบบสปอร์แบบไม่อาศัยเพศเท่านั้น โดยการสร้างหน่วยสืบพันธุ์ที่เรียกว่าConidia ได้หลายแบบ การจำแนกกลุ่มของราจึงไม่สำคัญมาก โดยจำแนกตามชนิด อาศัยโครงสร้าง รูปร่างและสีของหน่วยสืบพันธุ์ ราที่สำคัญได้แก่ Aspergillus และ Penicillium ที่มีความสำคัญยิ่งต่ออุตสาหกรรมอาหารและยาปฏิชีวนะ บางชนิดเป็นปรสิตกับพืชทำให้เกิดความเสียหายต่อการเกษตรได้อย่างรุนแรง เช่น ทำให้เกิดโรครากเน่า โคนเน่า ในพืชหลายชนิด