วันพฤหัสบดีที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556


แนวทางการอนุรักษ์และพัฒนาพื้นที่ป่าชายเลน

ในสถานการณ์ปัจจุบัน ป่าชายเลนกำลังอยู่ในภาวะวิกฤต เนื่องจากพื้นที่ป่าจำนวนมากถูกทำลายจน
หมดสภาพ และพื้นที่ที่เหลือได้รับผลกระทบจนเสื่อมสภาพไปเป็นจำนวนไม่น้อย จนเหลือเนื้อที่
ลดน้อยลงทุกปี แม้ว่ารัฐบาล จะได้ให้ความสำคัญโดยการออกมาตรการต่างๆ ให้กรมป่าไม้และ
หน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องรับดำเนินการ เพื่อหยุดยั้งการบุกรุกทำลานป่าและเร่งรัดการปลูกและ
ฟื้นฟูป่าชายเลน แต่ก็เพียงมีผลให้เนื้อที่ป่าชายเลนลดลงแต่ละปีน้อยกว่าเดิมเท่านั้น



แนวทางการจัดการป่าชายเลนแบบยั่งยืน


รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยมีกรมป่าไม้เป็นหน่วยงานหลักได้ดำเนินการ เพื่ออนุรักษ์
และพัฒนาป่าชายเลนมาโดยตลอด และได้ดำเนินการตามนโยบายและมาตรการที่กำหนดขึ้น
ในระดับชาติ ซึ่งบางกรณีเป็นมาตรการรีบด่วนที่ระดมกำลังจากหน่วยงานอื่น ๆ เข้าไป ให้การ
สนับสนุนและร่วมดำเนินการด้วย แต่ผลการดำเนินงานยังไม่ประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย
เนื่องจากมีปัญหาและอุปสรรคข้อขัดข้อง อยู่ตลอดเวลา และหากสถานการณ์ยังคงเป็นอยู่ในลักษณะนี้ 
รัฐอาจไม่สามารถรักษาพื้นที่ป่าชายเลนให้คงไว้อย่างน้อย 1 ล้านไร่ ในปี พ.ศ. 2544ตามเป้าหมายที่
กำหนดไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2540 - 2544) 

นวทางที่จำเป็นสำหรับการดำเนินการ เพื่อรักษาพื้นที่ป่าชายเลนให้คงไว้ได้ตามเป้าหมาย
 และสามารถอำนวยประโยชน์ได้ตามแนวทางการพัฒนาแบบยั่งยืน ดังนี้




     1. เร่งรัดพัฒนา และส่งเสริมความร่วมมือของประชาชนในท้องถิ่น ในด้านการอนุรักษ์และพัฒนาป่าชายเลน ด้วยวิธีการให้ความรู้ ความ เข้าใจ ที่จะก่อให้เกิดจิตสำนึกและเห็นความจำเป็นในการอนุรักษ์ และฟื้นฟูทรัพยากรป่าชายเลน โดยรัฐควรให้สิทธิและความมั่นคงรวมทั้งสิ่งจูงใจ ในประโยชน์ที่ประชาชนเหล่านี้ จะได้รับจากการคุ้มครองป้องกันและฟื้นฟูดูแลรักษาป่าชายเลน รวมทั้งการให้ความช่วยเหลือทางด้านวิชาการ และความช่วยเหลือทางด้านอื่น ๆ ที่จำเป็น ซึ่งจะเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่เสริมสร้างศักยภาพของประชาชน ในการจัดการ บริหารป่าชุมชนชายเลนต่อไป
     2. ปรับปรุงกฎหมาย และระเบียบ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์ที่ดินป่าชายเลนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่มีการบุกรุทำลาย ยึดถือ ครอบครอง และจับจองเพื่อการได้มาซึ่งเอกสิทธิ์ที่ดินป่าชายเลนโดยไม่ถูกต้อง ทั้งนี้เพื่อให้การอนุรักษ์ และการปลูกฟื้นฟูป่าชายเลน สามารถดำเนินการได้ผลอย่างแท้จริง และเป็นการขจัดปัญหาการออกเอกสารสิทธิ์ที่ดินป่าชายเลนให้หมดไป 
3. ดำเนินการสำรวจพื้นที่ป่าชายเลนอย่างละเอียดและใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนการจัดการป่าไม้ และการจัดการที่ดินป่าชายเลนให้เหมาะสมกับศักยภาพ ก่อนที่การอนุญาตทำไม้ในระบบสัมปทานระยะยาวในรอบที่ 2 จะสิ้นสุด เพื่อจะได้ดำเนินการให้พื้นที่ป่าชายเลนเป็นป่าอนุรักษ์ และป่าชุมชนตามความเหมาะสม ภายใต้แผนการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ 

   4. ส่งเสริม และสนับสนุน ให้มีการปลูกและฟื้นฟูป่าชายเลนอย่างต่อเนื่อง ทั้งในที่ดินของรัฐและที่ดินเอกชน โดยให้มีการขยายพันธุ์ไม้ป่าชายเลนที่มีความหลากหลาย ทั้งชนิดที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจและชนิดที่หายากหรือใกล้จะสูญพันธุ์ เพื่อดำรงความอุดมสมบูรณ์ของ ป่าชายเลน และความหลากหลายทางชีวภาพไปด้วย 


  5. ปรับปรุงระบบการอนุรักษ์ และป้องกันรักษาป่าชายเลน ให้มีการร่วมมือและประสานงานระหว่างหน่วยงานที่รับผิดชอบมากยิ่งขึ้น และให้มีการพัฒนาและปรับปรุงบทบาทของเจ้าหน้าที่หน่วยป้องกันรักษาป่าและหน่วยจัดการป่าชายเลน จากการป้องกันปราบปราม และการควบคุมการทำไม้ มาเป็นนักส่งเสริมและพัฒนาป่าชายเลนมากขึ้น 


 6.พัฒนาระบบการบริหารจัดการทรัพยากรป่าชายเลนของกรมป่าไม้ ให้มีโครงสร้างที่เป็นเอกภาพ โดยมีการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบ ที่ชัดเจน มีเจ้าหน้าที่ดำเนินการอย่างเพียงพอ มีความร่วมมือและประสานงานที่ดี 



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น