วันพุธที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556



การแบ่งเขตป่าชายเลน (Mangrove Zonation) ตามชนิดของไม้นำ


          เขตต่างๆของพันธุ์ไม้ชายเลนในแต่ละแห่งที่พบในประเทศไทยมีความแตกต่างกันบ้าง โดยทั่วไปสามารถแบ่งได้เป็น 4 เขตดังนี้ 


   
       1. เขตป่าโกงกาง


       

                  ประกอบด้วย "โกงกางใบเล็ก" (Rhizophora apiculata) ขึ้นอยู่อย่างหนาแน่นและมีต้น "โกงกางใบใหญ่" (R. mucronata) ขึ้นอยู่ทางด้านนอกริมฝั่งแม่น้ำ โดยมากมักขึ้นเป็นกลุ่มๆ ส่วน แสม มักขึ้นแซมตามชายป่าด้านนอกหรือถัดเข้าไปเพียงเล็กน้อย ซึ่งมองเห็นได้ชัดเพราะมีต้นสูงใหญ่กว่าโกงกางนอกจากนี้ยังมี ประสัก และ พังกาหัวสุม ขึ้นแทรกอยู่ทางด้านในของเขตนี้ ซึ่งอยู่ในระยะประมาณ 50-100 เมตร จากชายฝั่งและในบางแห่งพบต้น "จาก" (Nypa) ขึ้นอยู่เป็นหย่อม ๆ ปะปนด้วย โดยเฉพาะในบริเวณแหล่งน้ำกร่อย 

          2. เขตป่าตะบูนและโปรง 

        

                  ประกอบด้วย "ตะบูน" (Xylocarpus) ขึ้นต่อจากเขตต้นโปรงเข้าไป และมีต้นฝาดขึ้นอยู่อย่างหนาแน่น บางบริเวณอาจมี ลำแพน แทรกอยู่ด้วย 
          3. เขตป่าตาตุ่ม และฝาด 

           

                   เป็นบริเวณที่มีดินเลนแข็งขึ้นอยู่ในระดับที่น้ำจะท่วมถึงในช่วงน้ำเกิด อยู่ถัดจากป่าตะบูนและโปรงขึ้นไป โดยมีต้น ฝาด ขึ้นอยู่หนาแน่นปะปนกับต้น ตาตุ่ม โดยบางแห่งจะมีต้น ลำแพน ขึ้นแทรกอยู่ด้วย 

          4. เขตป่าเสม็ด 

          

                   ประกอบด้วย "เสม็ด" ขึ้นอยู่หนาแน่น เป็นเขตสุดท้ายของป่าชายเลนที่น้ำท่วมถึงในช่วงน้ำเกิดหรือท่วมไม่ถึง ติดต่อกับป่าบกหรือทุ่งนา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น