วันพุธที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556


พื้นที่คุมครองทางทะเล
พื้นที่ป่าชายเลน




          ประเทศไทยมีขอบเขตพื้นที่ป่าชายเลนตามกฎหมาย ไม่นับพื้นที่ในทะเลและพื้นที่แม่น้ำ
ลำคลอง พื้นที่ทั้งหมดประมาณ 2,371,254 ไร่ โดยแบ่งรูปแบบการใช้ประโยชน์จากที่ดินในพื้น
ที่ป่าชาย
เลนได้ทั้งหมด 12 แบบ ได้แก่ พื้นที่ป่าชายเลน ป่าชายหาด ป่าพรุ ป่าดิบแล้ง เลนงอก พื้นที่เกษตร
 นากุ้ง
 นาเกลือ พื้นที่ทิ้งร้าง เหมืองแร่ ท่าเทียบเรือ และพื้นที่เมือง
          รายละเอียดเกี่ยวกับ ป่าชายเลน เบื้องต้น
          พื้นที่ป่าชายเลนในประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงลดลงอย่างมาก ในปี 2504 มีพื้นที่ป่า
ชายเลน 2,327,228 ไร่ และในปี 2547 มีพื้นที่ป่าชายเลนเหลือเพียง 1,579,696 ไร่ ลดลง 747,532
 ไร่ 
หรือร้อยละ 32 จากในปี 2504
         
          พื้นที่ป่าชายเลนเหล่านี้อยู่ภายใต้การคุ้มครองของกฎหมายหลายฉบับ โดยมีกฎหมายที่
สำคัญดังนี้

         มาตรา 54 ห้ามมิให้ผู้ใด ก่อสร้างแผ้วถาง หรือเผาป่า หรือกระทำการด้วยประการใดๆอันเป็นการ
ทำลายป่า หรือเข้ายึดหรือครอบครองป่าเพื่อตนเองหรือผู้อื่น เว้นแต่จะกระทำภายในเขตที่ได้จำแนก
ไว้เป็นประเภทเกษตรกรรม และรัฐมนตรีได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาหรือได้รับใบอนุญาตจาก
พนัก
งานเจ้า หน้าที่
         การขออนุญาตและการอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง

          ป่าชายเลนที่ได้รับการกำหนดเป็นป่าสงวนแห่งชาติจะได้รับความคุ้มครองและการ
เข้าใช้ประโยชน์ของประชาชนจากพระราชบัญญัติฉบับนี้ โดยห้ามดำเนินกิจกรรมต่างๆที่อาจจะเป็
การ
เสื่อมเสียสภาพของป่าสงวนแห่งชาติ เช่น การเข้าอยู่อาศัย การก่อสร้าง การแผ้วถาง การเผาป่า 
การทำไม้ การเก็บหาของป่า เป็นต้น
         มาตรา 6  บรรดาป่าที่เป็นป่าสงวนอยู่แล้วตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองและสงวนป่าก่อน 
วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้เป็นป่าสงวนแห่งชาติตามพระราชบัญญัตินี้
         เมื่อรัฐมนตรีเห็นสมควรกำหนดป่าอื่นใดเป็นป่าสงวนแห่งชาติ เพื่อรักษาสภาพป่า ไม้ 
ของป่าหรือทรัพยากรธรรมชาติอื่น ให้กระทำได้โดยออกกฎกระทรวงซึ่งต้องมีแผนที่แสดงแนวเขต
ป่า
ที่กำหนดเป็น
ป่า สงวนแห่งชาตินั้นแนบท้ายกฎกระทรวงด้วย

         มาตรา 14 ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ห้ามมิให้บุคคลใดยึดถือครอบครองทำประโยชน์หรืออยู่
อา
ศัยในที่ดิน ก่อสร้าง แผ้วถาง เผาป่า ทำไม้ เก็บหาของป่า หรือกระทำด้วยประการใด ๆ อันเป็นการ
เสื่อม
เสียแก่สภาพป่าสงวนแห่งชาติ เว้นแต่
               (1) ทำไม้หรือเก็บหาของป่าตามมาตรา 15 เข้าทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยตามมาตรา 16
 มาตรา 16 ทวิ หรือมาตรา 16 ตรี กระทำการตามมาตรา 17 ใช้ประโยชน์ตามมาตรา 18 หรือ
กระทำการตามมาตรา 19 หรือมาตรา 20
               (2) ทำไม้หวงห้ามหรือเก็บหาของป่าหวงห้ามตามกฎหมายว่าด้วยป่าไม้

          มาตรา 16  การทำไม้หรือการเก็บหาของป่าในเขตป่าสงวนแห่งชาติให้กระทำได้เมื่อ
ได้รับใบ อนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ประกาศอนุญาตไว้เป็น
คราว ๆ 
ในเขตป่าสงวนแห่งชาติแห่งหนึ่งแห่งใดโดยเฉพาะ
          การอนุญาตให้เป็นไปตามแบบ ระเบียบและวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง

           ป่าชายเลนทั้งหมดที่อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติ จะถูกคุ้มครองโดยพระราชบัญญัติ
อุทยานแห่งชาติฉบับนี้ การกระทำใดๆที่ส่งผลกระทบต่อสัตว์และทรัพยากรธรรมชาติในเขตอุท
ยานแห่งชาติ
ถือเป็นความผิดตามมาตราที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัตินี้

            พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติคุ้มครองพื้นที่ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า และคุ้มครองชนิด
พันธุ์สัตว์ตามบัญชีรายชื่อสัตว์ป่าคุ้มครองท้ายพระราชบัญญัติ ป่าชายเลนจึงได้รับการคุ้มครอง
เพราะเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าในรายชื่อสัตว์ป่าคุ้มครอง นอกจากความคุ้มครองจาก
"เขตห้ามล่า
สัตว์ป่า"แล้วยังได้รับการคุ้มครองโดยจัดตั้งพื้นที่"เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า" ซึ่งมีมาตราที่เกี่ยวข้องได้
แก่
            มาตรา 36  ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ห้ามมิให้ผู้ใดล่าสัตว์ป่า ไม่ว่าจะเป็นสัตว์ป่าสงวนหรือ
สัตว์ป่าคุ้มครองหรือมิใช่ หรือเก็บหรือทำอันตรายแก่รังของสัตว์ป่า เว้นแต่จะกระทำเพื่อการศึกษา
หรือวิจัยทางวิชาการและได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากอธิบดีโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ

            มาตรา 38  ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ห้ามมิให้ผู้ใดยึดถือหรือครอบครองที่ดินหรือปลูก หรือ
ก่อสร้างสิ่งหนึ่งสิ่งใด หรือตัด โค่น แผ้วถาง เผา หรือทำลายต้นไม้หรือพฤกษชาติอื่น หรือขุดหาแร่ 
ดิน หิน หรือเลี้ยงสัตว์ หรือปล่อยสัตว์หรือสัตว์ป่า หรือเปลี่ยนแปลงทางน้ำ หรือทำให้น้ำในลำน้ำ
 ลำห้วย หนอง บึง ท่วมท้น เหือดแห้ง เป็นพิษ หรือเป็นอันตรายต่อสัตว์ป่า
            ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องปฏิบัติการเพื่อประโยชน์ในการคุ้มครอง ดูแล รักษาหรือบำรุง
เขต
รักษาพันธุ์สัตว์ป่า เพื่อการเพาะพันธุ์ การศึกษาหรือวิจัยทางวิชาการ เพื่ออำนวยความสะดวกใน
การ
ให้การศึกษาหรือการพักอาศัย หรืออำนวยความปลอดภัย หรือให้ความรู้แก่ประชาชน ให้อธิบดีมี
อำนาจสั่งเป็นหนังสือให้พนักงานเจ้าหน้าที่หรือเจ้าหน้าที่ของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า 
และพันธุ์
พืช 
หรือกรมประมง แล้วแต่กรณี กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าได้ ทั้งนี้ ตาม
 ระเบียบที่อธิบดีกำหนด โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น